♪♫♭ ยินดีต้อนรับสู่บล็อกศิลปะ/Art... o(≧ω≦)o ~♫ ♪ ♭♪ คุณคิดว่าศิลปะคืออะไร?

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเภทของศิลปะ

ศิลปะแขนงจิตรกรรม
ศิลปะแขนงประติมากรรม
ศิลปะแขนงสถาปัตยกรรม


    ปัจจุบัน ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายหลายประเภท ซึ่งเรา สามารถแบ่ง ประเภทของศิลปะ ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามประเภทของความงาม คือ
           
        1. วิจิตรศิลป์ (Fine Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางใจที่มุ่งเน้นความงดงาม และความพึงพอใจ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เป็นสำคัญ แบ่งออกเป็น 6 แขนง คือ


               1.1 จิตรกรรม (ภาพเขียน)    
               1.2
 ประติมากรม (ภาพปั้น)
               1.3
 สถาปัตยกรรม (งานก่อสร้าง)
               1.4
 วรรณกรรม (บทประพันธ์)
               1.5
 ดุริยางศิลป์ หรือ ดนตรี (การขับร้อง,การบรรเลง)
               1.6
 นาฏศิลป์ (การ่ายรำ,การละคร)
         
         2. ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางกายมุ่งเน้นประโยชน์ทางการใช้สอยมากกว่าความงาม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางร่างกาย แบ่งออกเป็น 5 แขนง คือ

 


               1.1 พาณิชย์ศิลป์ (ศิลปะเพื่อประโยชน์ทางการค้า)
               1.2 มัณฑนศิลป์ (ศิลปะการตกแต่ง)
               1.3
 อุตสาหกรรมศิลป์ (ศิลปะออกแบบผลิตภัณฑ์)
               1.4
 หัตถศิลป์ (ศิลปะที่ใช้ฝีมือ)
               1.5
 ประณีตหัตถศิลป์ (ศิลปะการช่างฝีมือชั้นสูง)

 
จากความหมาย ความงาม และประเภทของศิลปะ เราสามารถสรุปได้ว่าศิลปะ คือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพอใจ สิ่งใดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แม้จะมีความงดงาม ก็หาใช่ศิลปะไม่ ดังเช่น พระอาทิตย์กำลังจมลงทะเล ดอกไม้หลากสีสวยงาม ความงามและความพึงพอใจของศิลปะมี 2 ประเภท คือ  ความงามทางกา และ ความงามทางใจ

        ความงามทางกาย เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเรา เราสัมผัส และเห็นคุณค่าได้อย่าง เป็นรูปธรรม ส่วนความงามทางใจเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางนามธรรม ทำให้เรามีความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ สามารถ ดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างมีความสุขเฉกเช่น การปฏิบัติศีลในพระพุทธศาสนา
   

     ดังนั้น ศิลปะจึงมีความผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของเราอย่างขาดไม่ได้ เราจะพบศิลปะอยู่ในทุกหน ทุกแห่ง ที่เราผ่านไป คล้ายกับอากาศที่เราหายใจเข้าไปทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น